วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

 

_1_~3(2)85797518 bomb12 captb1c4890f91184d9886f rtatroopinphravihearinc (2)

 rtatroopinyala27june255rtatroopinyala27june255e rtatroopinyala27june255v south_bw_20_small rtatroopinphravihearincc

rtatroopsinyala7july255

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริ เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ มาโดยตลอดตั้งแต่พระองค์ เสด็จขึ้นครองราชย์ มาจนถึงทุกๆวันนี้ เนื่องมาจาก ประชาชนชาวไทยของพระองค์ในอีกหลายพื้นที่ในผืนแผ่นดินนี้ ยังคงประสบปัญหา ได้รับความยากลำบากในชีวิต พระราชดำริของพระองค์มีทั้งการปรับปรุงพื้นที่ ปรับปรุงระบบต่างๆ หรือการเข้าไปพัฒนาตัวบุคคล เหล่านั้น ให้ทุกๆองค์ประกอบมีความสมบูรณ์สามารถทำให้ราษฏรของพระองค์มีชีวิตที่พอเพียง และประเทศไทยดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข

ประเทศไทยในปัจจุบันยังคงประสบปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหาปากท้อง ชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ปัญหาเหล่านี้กลับกำลังกลายเป็นปัญหาทางด้านความมั่นคงของรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ ทหาร ซึ่งมีภารกิจหลัก คือการเตรียมกำลังในการป้องกันประเทศ และการที่เป็นองค์กรที่มีทั้งกำลังคน เครื่องไม้เครื่องมือ และ ความพร้อม ที่จะปฏิบัติภารกิจทุกๆอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดเพื่อรักษาไว้ ซึ่งความสงบและความสุข ของประชาชนทั้งประเทศ เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศ ตามพระราชดำริขององค์จอมทัพไทย องคผู้พระราชทาน พระบรมราโชวาทว่า "เข้าถึง เข้าใจ และ พัฒนา" า

ปัจจุบัน กองทัพบกที่ไทย ได้แบ่งพื้นที่รับผิดชอบการใช้กำลัง ออกเป็น ๔ กองทัพภาคด้วยกัน คือ
กองทัพภาคที่ ๑ รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึง จังหวัด

กองทัพภาคที่ ๒ รับผิดชอบพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมดตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา

กองทัพภาคที่ ๓ รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไป

กองทัพภาคที่ ๔ รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด

ซึ่งแต่ละกองทัพภาคจะมีพื้นที่รับผิดชอบ ที่มีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป ทำให้ประชากร แต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ปัญหาต่่างๆที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นเฉพาะพื้นที่ แต่ยังคงมีจุดร่วมของปัญหา นั่นคือคุณภาพชีวิต

ยิ่งในบางพื้นที่ยังมีปัญหาความรุนแรง ความไม่สงบเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย เช่น พื้นที่ ๓ จชต. เป็นต้น ทำให้ความยากในการที่จะลงไปพัฒนา มีเพิ่มมากขึ้น

สำหรับ บล็อกเกอร์มือใหม่หัด เรียนอย่างผม กำลังมีความสนใจ ในพื้นที่กองทัพภาคที่สามเป็นพิเศษ เนื่องจากแต่เดิมพื้นที่ของ ทภ.๓ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องเขตแดนและชนกลุ่มน้อย อีกทั้ง คุณภาพชีวิตที่ต่างกันของคนในพื้นที่เมือง และคนบนพื้นที่สูง ทำให้ในอดีต พื้นที่ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ค่อนข้างรุนแรง และเป็น ที่บัญชาการใหญ่ และโรงเรียน ของ พคท.อีกด้วย

ก่อนที่ ปัญหานี้จะพอคลี่คลายลงไปได้บ้าง จาก คำสั่ง นร. 66/2523 การเมืองนำการทหาร ด้วยการเปลี่ยนให้ พคท. กลายเป็น ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ราษฏรอาสาป้องกันชายแดน ให้โอกาส ให้พื้นที่ทำกิน สนับสนุนอาชีพ รวมไปถึงการที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีรับสั่งให้โครงการศิลปาชีพของพระองค์เข้าไป ส่งเสริม สินค้าหัตถกรรม ในท้องถิ่นต่างๆ ที่มีฝีมือ และโครงการพระราชดำริ ในเรื่องของการเกษตรที่สูง เรื่องของน้ำที่เข้าไปช่วยในเรื่องของ อาชีพเกษตรกรรม ให้สามารถมีผลผลิต ได้ และ เลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเมื่อ ราษฏรในพื้นที่มีความเป็นอยู๋ที่ดีขึ้ ก็จะเริ่มตระหนัก ที่จะหวงแหนทรัพยากรในพื้นที่ของตน เท่ากับว่่าเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการหวงแหนแผ่นดินของตน คอยสอดส่องดูแลความมั่นคงให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ปกครอง ซึ่งทำให้ ทหารสามารถบรรลุจุดประสงค์ในการ สถาปนาความมั่นคงในพื้นที่ได้rtatroopsinyala7july255

แต่สิ่่งที่ควรศึกษาคือในปัจจุบันนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ เกิดจิตสำนึกและตระหนักในเรื่องดังกล่าวหรือไม่
และ ทหารได้ดำเนินการและมีการปฏิบัติอย่างไร หลังจากที่ ในหลวงและพระราชินีทรง ทุ่มเท พระวรกาย ให้กับโครงการพระราชดำริต่างๆ ซึ่ง ในทุกวันนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ จะมีความเป็น อยู่อย่างไรและมีจิตสำนึกในความมั่นคง ตามยุทธศาสตร์ที่รัฐวางไว้หรือไม่

1263793619 rtatroopinyala27june255v

bkmap

          ศอป.พมพ.ภูขัด ภูเมี่ยงภูสอยดาว  ตั้งอยู่ที่ แก่งชำนาญจุ้ย บ.เทอดชาติ อ.ชาติระการ         จว.พิษณุโลก    โดยกองทัพภาคที่ ๓ ได้มอบหมายให้ พล.ม๑ เป็นหนว่ยปฏิบัติ  และ พล.ม.๑ ได้มอบหมายให้ ป.๒๑ รับผิดชอบ

           ประวัติความเป็นมา โครงการพิฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง ภูขัด ภูเมี่ยงภูสอยดาว  จัดตั้งขึ้นด้วยเหตุผลทางความมั่นคงตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่รอยต่อ ๓ จังหวัด คือ พิษณุโลก อุตรดิตถ์และ เลย  เนื่องมาจากพื้นที่ป่าในบริเวณดังกล่าวมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์  เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ของลำน้ำหลายสาย เช่น ลำน้ำเหือง ลำน้ำภาค พื้นที่เขตติดต่อตามแนวชายแดน มีลักษณะเป็นช่องทางแทรกซึมเป็นห้อง ภูมิประเทศในทางลึกมุ่งสู้ อ.นาแห้ว จว.เลย ซึ่งฝ่ายตรงข้ามอาจใช้เป็นแนวทางการเคลื่อนที่คุกคามต่อประเทศไทยได้ จึงได้มีการจัดตั้ง หมู่บ้านยุทธศาสตร์ตามแนวชายแดน ให้สอดคล้องกับระบบการป้องกันประเทศและในลักษณะการต่อสู้แบบเบ็ดเสร็จ

thailq

              ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นฐานที่มั่นสู้รบกับฝ่ายรัฐบาล หลังจาก คำสั่ง นร. ๖๖/๒๕๒๓ นโยบายการเมืองนำการทหาร ทำให้ สถานการณ์ต่างๆดีขึ้นและการก่อการร้ายหมดสิ้นไป มีมวลชนชาวเขาเผ่าม้ง เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เป็นจำนวน ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านร่มเกล้า บ้านน้ำคับ บ้านน้ำจวง และ บ้านน้ำแจ้งพัฒนา

              ปี ๒๕๒๘ สปป.ลาวอ้างสิทธิ์ว่า บ้านร่มเกล้าอยู่ในเขต สปป.ลาว โดยยึดถือลำน้ำเหืองป่าหมันเป็นเส้นเขตแดน แต่ฝ่ายไทยยึดถือลำน้ำเหืองงา เป็ฯเส้นเขตแดน จึงเกิดกรณีพิพาทบ้านร่มเกล้าขึ้น มีการสู้รบอย่างรุนแรงจนถึง ๑๙ ก.พ. ๒๕๓๑ มีการเจรจาหยุดยิง แยกกำลังที่ปะทะกันออกจากกันฝ่ายละ ๓ กิโลเมตร กำหนดเป็นเขตแนวแยกทางทหารจนกว่าการปักปันเขตแดนจะยุติ

             หลังจาก กรณีพิพาทดังกล่าว ทภ.๓ และ กอ.รมน. ภาค ๓ ได้รับอนุมัติจัดตั้ง กองอำนวยการ โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว ขึ้น ในวันที่ ๑ ก.พ. ๒๕๓๒ มีระยะเวลาดำเนินการ ๔ (๒๕๓๒-๒๕๓๖) และได้ขยายเวลาในการดำเนินการออกไปอีก ๒ปี

              เมื่อสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ หน่วยได้แปรสภาพเป็นเป็นศูนย์อำนวยการประสานงาน โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว โดยขออนุมัติขยายเวลาการดำเนินการเป็นรายปี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รับไว้เป็นโครงการตามพระราชดำริ images

บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทางที่เราจะช่วยกันได้ก็คือ การที่ทำความคิดให้ถูก และแน่วแน่ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมาย ต้องเพลาการคิดนึกถึงประโยชน์เฉพาะตัว และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง
(พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2543)

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมๆกันไปด้วย
(พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาฯ 10 ก.ค.2523)

เที่ยวภูสอยดาว02    วัตถุประสงค์

  • เพื่อดำเนินการตามแผนงานโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงในพื้นที่รับผิดชอบสอดคล้องกับยุทธศษสตร์ความมั่นคงชายแดน
  • เพื่อสนับสนุนและประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้บังเกิดขึ้นใน พื้นที่รับผิดชอบ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน
  • เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูและปรับปรุงทรัพยากรป่าไม้โดยทำการปลูกป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรม ให้มีสภาพ อุดมสมบูรณ์
  • เพื่อสร้างจิตสำนึกของราษฎรให้มีความรู้ รักและหวงแหนธรรมชาติ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งคุณภาพชีวิตดีขึ้น

   พื้นที่ดำเนินการi192252739_54334_3

  1. บ.รักชาติ
  2. บ.เทอดชาติ
  3. บ.หมั่นแสวง
  4. บ.ชำนาญจุ้ย
  5. บ.นุชเทียน
  6. บ.บ้านใหม่รักไทย
  7. บ.บ่อภาค  หมู่๔
  8. บ.บ่อภาค หมู่ ๕
  9. บ.ลาดเรือ
  10. บ.ขวดน้ำมัน
  11. บ.นาตอน
  12. บ.น้ำคับ
  13. บ.น้ำจวง
  14. บ.น้ำจวงใต้
  15. บ.ร่มเกล้า
  16. บ.สงบสุข
  17. บ.ธรรมวงศ์
  18. บ.ส่องสี
  19. บ.มณีแก้ว
  20. บ.น้ำแจ้งพัฒนา
  21. บ.บุ่งผำ

                  ในพื้นที่รับผิดชอบ มีสถานภาพของหมู่บ้านอยู่ ๓กลุ่มคือ หมู่บ้านดั้งเดิม ๗ หมู่บ้าน หมู่บ้านราษฏรอาสาสมัครตามแนวชายแดน ๘ หมู่บ้าน และหมู่บ้านผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ๖ หมู่บ้าน

ปัญหาความต้องการในพื้นที่รับผิดชอบ

    •               เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
    •               ส่งเสริมการประกอบอาชีพ

งานด้านยุทธศาตร์ความมั่นคงชายแดน

      • แผนงานโครงการฝึกทบทวนราษฏรอาสามัครป้องกันตนเองตามแนวชายแดน
      • แผนงานโครงการใช้ปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยชีวภาพ
      • แผนงานโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลงานที่ผ่านมา

      • การจัดตั้งหมู่บ้านราษฏรอาสาสมัครตามแนวชายแดน ๘ หมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๕๐ หลังคาเรือน
      • พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่นเส้นทางคมนาคม ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน การพัฒนาแหล่งน้ำ และการส่งเสริมอาชีพต่างๆ
      • การนำราษฏรเข้าเป็นสมาชิกโครงการศิลปาชีพ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอบดาว ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

           โดยสรุปแล้วนั้นงานส่วนใหญ่ของ ศอป.พมพ. ภูขัดฯ ไม่ได้เหมือนกับหน่วยทหารอื่นๆ ที่ใช้การดำเนินการโดยเป็นกำลังแรง เป็นกำลังคน ที่ลงไปปฏิบัติ แต่ใน ศอป.พมพ. ภูขัดฯ  ได้ใช้ความสามารถของทหารในการประสานงาน และดำเนินการ เป็นดั่ง สมอง ในการบริหารจัดการต่างๆ กับหน่วยงานราชการอื่นๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ และบรรลุ จุดมุ่งหมายในการสถาปนาความมั่นคงในพื้นที่ ไม่ให้เกิดกรณีพิพาท หรือ ใช้เป็นฐานในการเคลื่อนไหวของกองกำลังใดๆ ได้อีก เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงาน

       ๑.  การดำเนินการตามแผนพัฒนาพื้นที่ตามพระราชดำริ  ๓  แผนงานหลัก  ดังนี้

           ๑.๑  แผนงานพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน

                  ๑.๑.๑  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรบ้านร่มเกล้า

                  ๑.๑.๒ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวลำน้ำภาค

                  ๑.๑.๓ โครงการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรบ้านรักไทย

           ๑.๒  แผนงานพัฒนาอาชีพและการตลาด

                  ๑.๒.๑  โครงการพัฒนาระบบการเกษตรแบบขั้นบันได  ให้ราษฎรบ้านร่มเกล้า

                  ๑.๒.๒ โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านร่มเกล้า

                  ๑.๒.๓ โครงการส่งเสริมการผลิตผ้าใยกัญชง

           ๑.๓  แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการป่าไม้

                 - โครงการปลูกป่าไม้ใช้สอยสำหรับชุมชน

    ls01

๒. โครงการศิลปาชีพ  ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มี ๕ แผนงาน  ดังนี้

            ๒.๑  งานด้านการฝึกอบรม  :  การทอผ้าด้วยกี่กระทบเบื้องต้น , ด้วยกี่กระทบยกระดับ , การทอผ้าไหมมัดหมี่ , การสร้างกี่กระตุกขั้นพื้นฐาน , การทอผ้าแบบลายตัวอักษร , การฟอกย้อมสีไหม , การทอผ้าฝ้ายลายลูกแก้ว , ลายลูกกง  และ  ลายหมากนัด  เป็นต้น

            ๒.๒ งานส่งเสริมสมาชิกทอผ้า  :  ประสานขอรับพระราชทานเส้นด้าย  จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพสวนจิตรลดา  กรุงเทพฯ นำมาแจกจ่ายให้กับสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพ  ภูขัดฯ เพื่อทอส่งสำนักพระราชวังเป็นรายได้เสริมimages2

            ๒.๓ งานส่งเสริมการปักลายชาวเขา  :  ประสานขอรับพระราชทานใยกัญชงมาแจกจ่ายให้กับราษฎร  รวบรวมผลงานส่งกองศิลปาชีพ  จิตรลดา  กทม.  และ รับพระราชทานเงินตอบแทนมาแจกจ่ายให้กับสมาชิก

            ๒.๔ งานส่งเสริมการทอผ้าไหม  :  ประสานขอรับพระราชทานเส้นไหมดิบจากกองศิลปาชีพจิตรลดา  กทม. และ รับพระราชทานเงินตอบแทนมาแจกจ่ายให้กับสมาชิก

            ๒.๕ การส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์  :  ดำเนินการปรับปรุงและต่อเติมอาคารสำนักงานชุดปฏิบัติการโครงการพระราชดำริ  ให้เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการศิลปาชีพ  ภูขัดฯ  เช่น  ผ้าทอมือ , ผ้าปักลายชาวเขา  และ  ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆpic-66

       ๓.  โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  ตามพระราชดำริ  ภูขัด  ภูเมี่ยง  ภูสอยดาว

      วัตถุประสงค์ของโครงการ

        -  ให้ราษฎรในพื้นที่มีงานทำ  โดยมีโครงการฯ เป็นแหล่งจ้างงาน  ให้กับราษฎร  ในพื้นที่และเป็นแหล่งการเรียนรู้

        -  ส่งเสริมให้ราษฎร  ปลูกผักปลอดสารพิษ  เพื่อไว้บริโภคและจำหน่าย

        -  มุ่งเน้นการใช้พื้นที่  ให้ราษฎร  ได้เรียนรู้การทำเกษตรแผนใหม่ที่ถูกต้อง  ควบคู่กับการอนุรักษ์ดินและระบบนิเวศน์ป่าไม้บนพื้นที่สูง  พืชผักไม้ดอกไม้ผลเมืองหนาว

        -  เพื่อให้ราษฎร  ในพื้นที่นำความรู้ไปพัฒนาเป็นอาชีพของตนเอง  ควบคู่กับการฟื้นฟู  ระบบนิเวศน์  ต้นน้ำและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น  เช่นการอนุรักษ์กล้วยไม้ , ป่าไม้ , ต้นน้ำลำธาร  เป็นต้น

อ้างอิงจาก รายงานสรุปผลการปฏิบัติรอบ ๖เดือน ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๕๒ – ๒๕ มี.ค.๕๓

r_9198

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เมื่ออ่านทราบแล้ว ก็เกิดความร้อนใจว่า บ้านเราไม่มีแหล่งน้ำใหญ่ๆ มีแต่ป่า ถ้าคนไทยไม่ทราบว่า ป่าไม้คืออะไร ป่าไม้ก็คือที่สะสมน้ำไว้ใต้ดินนี่เอง ที่ฤดูฝนแทนที่น้ำฝนจะไหลหลากลงไปที่ทะเล ถ้ามีป่า ป่าเหล่านั้น ต้นไม้ใหญ่ๆ เหล่านั้น จะดูดน้ำไว้ใต้ดิน ใต้ต้นไว้เป็นจำนวนมาก และตามกิ่งก้านทั้งหลายของเขา จะดูดไว้ เรียกว่าเป็นแหล่งน้ำที่ดี แล้วก็ออกมาเป็นลำธารน้อยใหญ่
อันนี้ที่อยากให้ราษฎรทั้งหลายเข้าใจ ไม่ใช่ไปนึกแต่ว่ามีป่า ไม้สักไม้อะไรต่างๆ สำหรับตัดไปค้าขายอย่างเดียว มันมีประโยชน์อย่างอื่นด้วย ที่เราน่าจะคำนึงถึง เพราะฉะนั้น ประเทศไทยมีประชากรเป็นจำนวนมาก ถ้าน้ำจืดต่อไปใน ๑๕ ปี เป็นของที่หายาก ที่เรียกว่าแพงถูกแล้ว สมัยนี้เขาเอาน้ำทะเลมากลั่น เป็นน้ำจืดได้ แต่ว่า ค่าทำแพงเหลือหลาย แล้วประเทศเรา ไม่ใช่ว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยอะไรมาก ถ้าถึงขนาดต้องเอาน้ำทะเล มากลั่นเพื่อเลี้ยงประชากร ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะฉะนั้น ทำไมเราจะไม่รู้จักเก็บป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งที่สะสมน้ำไว้ให้ดี อย่าพากันไปตัดคนละหนุบคนละหนับ
ความจริง ป่าไม้เป็นของคนไทยทั้งชาติ เป็นผลประโยชน์ของคนไทยทั้งชาติ ไม่มีสิทธิที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะแอบเข้าไปตัดและทำการค้า แต่ลำพังแล้ว ต่อไปถ้าประเทศไทยขาดน้ำจะทำยังไง เพราะเราไม่ใช่ประเทศร่ำรวย ข้าพเจ้าชื่นใจมากที่ได้ยินได้ข่าวว่า นายกรัฐมนตรีสมัคร มีความมุ่งมั่น ที่จะพิทักษ์รักษาป่าไม้ ด้วยเหตุนี้ด้วยเหตุที่ว่า เป็นแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ของไทย ถ้าเราช่วยกันพิทักษ์รักษาป่า

     พระราชดำรัส  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ
วันจันทร์ที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
(ฉบับไม่เป็นทางการ)

  • สิ่งแวดล้อม
    • ลักษณะภูมิประเทศ        ภูมิประเทศใพื้นที่รับผิดชอบ เป็นลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นช่องทางแทรกซึม เป็นห้อง ภูมิประเทศในทางลึกมุ่งเข้าสู่ อ.นาแห้ว จ.เลย
    • ทรัพยากร      ในพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร

             เนื่องด้วยพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เมื่อหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ได้ผ่านพ้นไปจึงได้มีการประกาศให้พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อป้องกันการทำลายพื้นที่ป้า ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นการรักษาทรัพยากรและยังเป็นการสร้างความมั่นคงในพื้นที่อีกด้วย

          และด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นช่องทางของภัยคุกคาม ทำให้การที่ทหารลงไปพัฒนาในพื้นที่ ก็เพื่อที่จะสนองตอบความต้องการพื้นฐานของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีแล้วขั้นต่อไป ทางราชการจะได้เพิ่มการปลูกฝังในการหวงแหนผืนแผ่นดินและทรัพยากร ของประเทศ ซึ่งเริ่มผ่านทางโครงการต่างๆ ทั้ง โครงการหมู่บ้านราษฏรอาสาสมัครป้องกันชายแดน หมู่บ้านผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย 1262884392

  •   ประชากร 

โครงสร้างประชากรในพื้นที่136

ประชากรทั้งหมด   9,360 คน

ชาย 4,817 คน   หญิง 4973

พุทธ 5,178 คน    คริสต์และผี 4,612 คน

ภาษา  ไทย,ไทยพวน,ม้ง,เหนือ

ระดับการศึกษา การศึกษาภาคบังคับ

อาชีพ เกษตรกรรมและหัตถกรรม

ปัญหาความต้องการพื้นฐาน

  •    เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  •    ส่งเสริมอาชีพ

               จากโครงสร้างประชากร ขั้นต้นเท่าที่พอสำรวจและจัดเก็บได้ตามการรายงานผลงานประจำปี นั้น พบว่า ประชากรกว่า ครึ่ง มีความเชื่อ และเชื้อชาติ ที่แตกต่่างกัน กว่าครึ่ง เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง  ความแตกต่างนี้ ทำให้วัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่แตกต่างกัน โดยในการตั้งถิ่นฐาน คนเชื้อชาติไทย มักจะตั้งบริเวณที่เป็นที่ราบเชิง เขา ส่วน ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง มักจะตั้งบริเวณภูเขา เนิน ที่เป็นแนวชายแดน อาทิ บ้านร่มเกล้า เป็นต้น  จากความแตกต่างทางวัฒนธรรมนี้และ ปัญหาความยากจน และการเข้าถึงความเจริญของคนในพื้นที่ ทำให้ในอดีต ผกค. จึงสามารถมาตั้งเขตงาน มาเผยแผ่ ลัทธิ และมีมวลชนเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่ นี้ได้ เมื่อทางราชการรับภารกิจในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่นี้ ก็คือ การทำให้ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และชาวไทย ที่เคยหลงผิดไปกับ กลุ่มผกค. รู่สึกถึงความเป็นไทย รู้สึกไม่แปลกแยก ด้วยการ ตั้งเป็นกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เพิ่อให้ได้มีสิทธิ์มีเสียงในการจัดการพื้นที่ ของตนและได้เป็นคนไทยอย่างสมบูรณ์ และในขณะเดียวกัน ก็พัฒนาโครงข่ายระบบ ทั้งระบบคมนาคม การติดต่อสื่อสาร  เพื่อให้คนในพื้นที่เห็นถึงความเจริญที่เข้าถึงผ่านการพัฒนาจากภาครัฐ 

                เมื่อโครงข่ายระบบ และ ทัศนคติของคนในพื้นที่เริ่มเข้าทีเข้าทาง สิ่งต่อมาที่ต้องทำ คือ การพัฒนาอาชีพ เพื่อให้ ราษฏรสามารถที่จะดำรงชีวิต อยู่ได้ด้วยการเลี้ยงชีพตนเอง ซึ่งอาชีพที่ราษฏรในพื้นที่พอทำได้ คืออาชีพเกษตรกรรม  

  • ปัญหาที่พบจากอาชีพเกษตรกรรม

                      ถึงแม้ราษฏรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ ก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรที่ถูกต้อง ทำให้ได้รับผลผลิตไม่ตรงตามความต้องการได้ผลผลิตน้อย อีกทั้ง ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งซึ่งมีวัฒนธรรมในการทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งเป็นผลเสีย เป็นการทำลายทรัพยากร และพื้นที่อีกด้วย ทำให้ไม่สามารถทำเกษตรแบบ ชาวพื้นราบได้ และยังไม่เข้าใจในการทำเกษตรบนที่สูงอย่างถูกต้อง  T0021_0005_01

                       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าว ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ให้ โครงการเกษตรที่สูงและ สถานีเกษตรที่สูงไปจัดตั้งบน พื้นที่ภูขัด  ทำให้เกิดเป็นสถานีที่คอยกระจายความรู้สู่ชุมชน ต่างๆในพื้นที่รับผิดชอบ และทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ซึ่งทาง ศอป.พมพ.ภูขัด จึงมีหน้าที่ในการประสานงานกับ สถานีเกษตรพื้นที่สูง ในด้านของวิทยากร ด้านการดูแลสถานที่การขนส่ง  การดูแลและคอยตรวจสอบราษฏรในโครงการ

                        ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งคือการที่ราษฏรในพื้นที่ไม่มีพื้นที่ทำกิน ในการทำเกษตรกรรม จำเป็นต้องใช้พื้นที่ แต่เนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นป่านั่น เป็นพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติเพื่อป้องกันการบุกรุก แผ้วถางป่าทำไร่เลื่อนลอย และการลกลอบเก็บของป่าและตัดไม้ เมื่อเป็นเช่นนี้ทาง ศอป.พมพ.ภูขัดจึงทำหน้าที่ ประสานงาน ภายใต้อำนาจของกองทัพบก กับกรมป่าไม้เพื่อขอใช้พื้นที่บางส่วนของอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ ในการให้ราษฏรใช้ทำเกษตรกรรมT0020_0005_01

  • การส่งเสริมอาชีพ 

                        ด้วยการที่อาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ  ความทราบถึง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งพระองค์ทราบว่าชาวไทยภูเขาเหล่านี้มีความสามารถในด้านการหัตถกรรมและการทอผ้า  ที่มีลายเฉพาะของตนเอง จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณจัดตั้งโครงการศิลปาชีพ  ขึ้นเพื่อแก้ปัญหา นี้ โดย ทรงสนับสนุนเส้นด้ายเส้นไหมและรับซื้อสินค้าทั้งหมด

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
(พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
20 ธ.ค. 2516 )

 

ปัญหาที่พบอื่นๆในพื้นที่
  •                ปัญหาที่ดินทำกิน

                 ในพื้นที่มีปัญหาพื้นที่ทำกินพิพาทกันบ่อยครั้ง เนื่องมาจากการที่พื้นที่มีน้อย จึงทำให้ทางศอป.พมพ.ภูขัดฯ ต้องเข้าไปแก้ไข บ่อยครั้ง โดย ทาง ศอป.พมพ. ภูขัดฯ ต้องเป็นตัวประสานงานระหว่างราษฏร เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เจ้าพนักงานปกครอง และ คู่พิพาท ในการเจรจราไกลเกลี่ยกัน

 

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

You can replace this text by going to "Layout" and then "Page Elements" section. Edit " About "

Followers

Welcome

Volutpat quisque sed et aliquam