วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เมื่ออ่านทราบแล้ว ก็เกิดความร้อนใจว่า บ้านเราไม่มีแหล่งน้ำใหญ่ๆ มีแต่ป่า ถ้าคนไทยไม่ทราบว่า ป่าไม้คืออะไร ป่าไม้ก็คือที่สะสมน้ำไว้ใต้ดินนี่เอง ที่ฤดูฝนแทนที่น้ำฝนจะไหลหลากลงไปที่ทะเล ถ้ามีป่า ป่าเหล่านั้น ต้นไม้ใหญ่ๆ เหล่านั้น จะดูดน้ำไว้ใต้ดิน ใต้ต้นไว้เป็นจำนวนมาก และตามกิ่งก้านทั้งหลายของเขา จะดูดไว้ เรียกว่าเป็นแหล่งน้ำที่ดี แล้วก็ออกมาเป็นลำธารน้อยใหญ่
อันนี้ที่อยากให้ราษฎรทั้งหลายเข้าใจ ไม่ใช่ไปนึกแต่ว่ามีป่า ไม้สักไม้อะไรต่างๆ สำหรับตัดไปค้าขายอย่างเดียว มันมีประโยชน์อย่างอื่นด้วย ที่เราน่าจะคำนึงถึง เพราะฉะนั้น ประเทศไทยมีประชากรเป็นจำนวนมาก ถ้าน้ำจืดต่อไปใน ๑๕ ปี เป็นของที่หายาก ที่เรียกว่าแพงถูกแล้ว สมัยนี้เขาเอาน้ำทะเลมากลั่น เป็นน้ำจืดได้ แต่ว่า ค่าทำแพงเหลือหลาย แล้วประเทศเรา ไม่ใช่ว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยอะไรมาก ถ้าถึงขนาดต้องเอาน้ำทะเล มากลั่นเพื่อเลี้ยงประชากร ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะฉะนั้น ทำไมเราจะไม่รู้จักเก็บป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งที่สะสมน้ำไว้ให้ดี อย่าพากันไปตัดคนละหนุบคนละหนับ
ความจริง ป่าไม้เป็นของคนไทยทั้งชาติ เป็นผลประโยชน์ของคนไทยทั้งชาติ ไม่มีสิทธิที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะแอบเข้าไปตัดและทำการค้า แต่ลำพังแล้ว ต่อไปถ้าประเทศไทยขาดน้ำจะทำยังไง เพราะเราไม่ใช่ประเทศร่ำรวย ข้าพเจ้าชื่นใจมากที่ได้ยินได้ข่าวว่า นายกรัฐมนตรีสมัคร มีความมุ่งมั่น ที่จะพิทักษ์รักษาป่าไม้ ด้วยเหตุนี้ด้วยเหตุที่ว่า เป็นแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ของไทย ถ้าเราช่วยกันพิทักษ์รักษาป่า

     พระราชดำรัส  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ
วันจันทร์ที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
(ฉบับไม่เป็นทางการ)

  • สิ่งแวดล้อม
    • ลักษณะภูมิประเทศ        ภูมิประเทศใพื้นที่รับผิดชอบ เป็นลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นช่องทางแทรกซึม เป็นห้อง ภูมิประเทศในทางลึกมุ่งเข้าสู่ อ.นาแห้ว จ.เลย
    • ทรัพยากร      ในพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร

             เนื่องด้วยพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เมื่อหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ได้ผ่านพ้นไปจึงได้มีการประกาศให้พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อป้องกันการทำลายพื้นที่ป้า ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นการรักษาทรัพยากรและยังเป็นการสร้างความมั่นคงในพื้นที่อีกด้วย

          และด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นช่องทางของภัยคุกคาม ทำให้การที่ทหารลงไปพัฒนาในพื้นที่ ก็เพื่อที่จะสนองตอบความต้องการพื้นฐานของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีแล้วขั้นต่อไป ทางราชการจะได้เพิ่มการปลูกฝังในการหวงแหนผืนแผ่นดินและทรัพยากร ของประเทศ ซึ่งเริ่มผ่านทางโครงการต่างๆ ทั้ง โครงการหมู่บ้านราษฏรอาสาสมัครป้องกันชายแดน หมู่บ้านผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย 1262884392

  •   ประชากร 

โครงสร้างประชากรในพื้นที่136

ประชากรทั้งหมด   9,360 คน

ชาย 4,817 คน   หญิง 4973

พุทธ 5,178 คน    คริสต์และผี 4,612 คน

ภาษา  ไทย,ไทยพวน,ม้ง,เหนือ

ระดับการศึกษา การศึกษาภาคบังคับ

อาชีพ เกษตรกรรมและหัตถกรรม

ปัญหาความต้องการพื้นฐาน

  •    เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  •    ส่งเสริมอาชีพ

               จากโครงสร้างประชากร ขั้นต้นเท่าที่พอสำรวจและจัดเก็บได้ตามการรายงานผลงานประจำปี นั้น พบว่า ประชากรกว่า ครึ่ง มีความเชื่อ และเชื้อชาติ ที่แตกต่่างกัน กว่าครึ่ง เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง  ความแตกต่างนี้ ทำให้วัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่แตกต่างกัน โดยในการตั้งถิ่นฐาน คนเชื้อชาติไทย มักจะตั้งบริเวณที่เป็นที่ราบเชิง เขา ส่วน ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง มักจะตั้งบริเวณภูเขา เนิน ที่เป็นแนวชายแดน อาทิ บ้านร่มเกล้า เป็นต้น  จากความแตกต่างทางวัฒนธรรมนี้และ ปัญหาความยากจน และการเข้าถึงความเจริญของคนในพื้นที่ ทำให้ในอดีต ผกค. จึงสามารถมาตั้งเขตงาน มาเผยแผ่ ลัทธิ และมีมวลชนเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่ นี้ได้ เมื่อทางราชการรับภารกิจในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่นี้ ก็คือ การทำให้ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และชาวไทย ที่เคยหลงผิดไปกับ กลุ่มผกค. รู่สึกถึงความเป็นไทย รู้สึกไม่แปลกแยก ด้วยการ ตั้งเป็นกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เพิ่อให้ได้มีสิทธิ์มีเสียงในการจัดการพื้นที่ ของตนและได้เป็นคนไทยอย่างสมบูรณ์ และในขณะเดียวกัน ก็พัฒนาโครงข่ายระบบ ทั้งระบบคมนาคม การติดต่อสื่อสาร  เพื่อให้คนในพื้นที่เห็นถึงความเจริญที่เข้าถึงผ่านการพัฒนาจากภาครัฐ 

                เมื่อโครงข่ายระบบ และ ทัศนคติของคนในพื้นที่เริ่มเข้าทีเข้าทาง สิ่งต่อมาที่ต้องทำ คือ การพัฒนาอาชีพ เพื่อให้ ราษฏรสามารถที่จะดำรงชีวิต อยู่ได้ด้วยการเลี้ยงชีพตนเอง ซึ่งอาชีพที่ราษฏรในพื้นที่พอทำได้ คืออาชีพเกษตรกรรม  

  • ปัญหาที่พบจากอาชีพเกษตรกรรม

                      ถึงแม้ราษฏรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ ก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรที่ถูกต้อง ทำให้ได้รับผลผลิตไม่ตรงตามความต้องการได้ผลผลิตน้อย อีกทั้ง ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งซึ่งมีวัฒนธรรมในการทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งเป็นผลเสีย เป็นการทำลายทรัพยากร และพื้นที่อีกด้วย ทำให้ไม่สามารถทำเกษตรแบบ ชาวพื้นราบได้ และยังไม่เข้าใจในการทำเกษตรบนที่สูงอย่างถูกต้อง  T0021_0005_01

                       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าว ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ให้ โครงการเกษตรที่สูงและ สถานีเกษตรที่สูงไปจัดตั้งบน พื้นที่ภูขัด  ทำให้เกิดเป็นสถานีที่คอยกระจายความรู้สู่ชุมชน ต่างๆในพื้นที่รับผิดชอบ และทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ซึ่งทาง ศอป.พมพ.ภูขัด จึงมีหน้าที่ในการประสานงานกับ สถานีเกษตรพื้นที่สูง ในด้านของวิทยากร ด้านการดูแลสถานที่การขนส่ง  การดูแลและคอยตรวจสอบราษฏรในโครงการ

                        ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งคือการที่ราษฏรในพื้นที่ไม่มีพื้นที่ทำกิน ในการทำเกษตรกรรม จำเป็นต้องใช้พื้นที่ แต่เนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นป่านั่น เป็นพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติเพื่อป้องกันการบุกรุก แผ้วถางป่าทำไร่เลื่อนลอย และการลกลอบเก็บของป่าและตัดไม้ เมื่อเป็นเช่นนี้ทาง ศอป.พมพ.ภูขัดจึงทำหน้าที่ ประสานงาน ภายใต้อำนาจของกองทัพบก กับกรมป่าไม้เพื่อขอใช้พื้นที่บางส่วนของอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ ในการให้ราษฏรใช้ทำเกษตรกรรมT0020_0005_01

  • การส่งเสริมอาชีพ 

                        ด้วยการที่อาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ  ความทราบถึง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งพระองค์ทราบว่าชาวไทยภูเขาเหล่านี้มีความสามารถในด้านการหัตถกรรมและการทอผ้า  ที่มีลายเฉพาะของตนเอง จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณจัดตั้งโครงการศิลปาชีพ  ขึ้นเพื่อแก้ปัญหา นี้ โดย ทรงสนับสนุนเส้นด้ายเส้นไหมและรับซื้อสินค้าทั้งหมด

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
(พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
20 ธ.ค. 2516 )

 

ปัญหาที่พบอื่นๆในพื้นที่
  •                ปัญหาที่ดินทำกิน

                 ในพื้นที่มีปัญหาพื้นที่ทำกินพิพาทกันบ่อยครั้ง เนื่องมาจากการที่พื้นที่มีน้อย จึงทำให้ทางศอป.พมพ.ภูขัดฯ ต้องเข้าไปแก้ไข บ่อยครั้ง โดย ทาง ศอป.พมพ. ภูขัดฯ ต้องเป็นตัวประสานงานระหว่างราษฏร เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เจ้าพนักงานปกครอง และ คู่พิพาท ในการเจรจราไกลเกลี่ยกัน

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

You can replace this text by going to "Layout" and then "Page Elements" section. Edit " About "

Followers

Welcome

Volutpat quisque sed et aliquam